วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก จังหวัดอยุธยา
หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก หรือในสมณณศักดิ์ พระราชทินนามที่ พระมงคลสิทธาจารย์ เจ้าอาวาสวัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิดังอันดับ 1 ของเมืองไทย มรณภาพแล้ว เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของวันที่ 19 ก.ค. ณ รพ.วิชัยยุทธ กรุงเทพฯ ด้วยอาการสงบ สิริรวมอายุ 96 ปี 76 พรรษา
           
 พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หนึ่งในบรรดาพระอาจารย์แห่งเมืองกรุงเก่าที่มีความขลังเป็นอมตะคือ ท่านพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อรวย) เจ้าอาวาสวัดตะโก ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อมีความเป็นอยู่สมถะ เรียบง่าย พูดน้อย ถามคำตอบคำ และมักจะเป็นผู้ฟังเสียมากกว่า
หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก วัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นหนึ่งพระเกจิอาจารย์แห่งกรุงเก่าเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ เมืองร่องรอยประวัติศาสตร์การต่อสู้อันยิ่งใหญ่ อุดมไปด้วยพระเกจิอาจารย์นับตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่กล่าวขานศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป
หลวงพ่อเป็นพระเกจิอาจารย์แนวหน้าในยุคนี้ที่งดงามด้วยปฏิปทาศีลวัตรสัจคุณ ดำรงสมณเพศอย่างสมถะ เป็นพระนักปฏิบัติมากว่าที่จะเป็นพระธรรมกถึกทั้งเป็นพระนักพัฒนาทำความ เจริญรุ่งเรืองมาสู่วัดตะโก ท่านได้สืบทอดพุทธาคมมาจาก หลวงพ่อชื่น วัดภาชี ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งสืบทอดวิชาพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ ผู้เป็นพระบุรพาจารย์ที่โด่งดังเลื่องลือกิติศัพท์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งสืบสายพุทธาคมโดยตรงจากหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ ที่เชี่ยวชาญวิชาอาคมโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรีเป็นหนึ่ง อีกด้วย
กิติคุณชีวประวัติ ชาติภูมิ
หลวงพ่อรวย ถือกำเนิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๔ (ปัจจุบัน ๒๕๖๐ เจริญสิริอายุครบ ๙๕ ปี ๗๖ พรรษาร่มกาสาวพัสตร์) เป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวนพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน ๘ คน (ชาย ๓ หญิง ๕) ของคุณโยมบิดา มี โยมมารดา สินลา ศรฤทธิ์ (บรรพบุรุษของสกุลศรฤทธิ์นี้ เป็นเชื้อสายชาวกรุงศรีสัตนาคนหุต) ณ บ้านตะโก หมู่ที่ ๒ ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา
พี่น้องร่วมสายโลหิต
  1. นายมณี ศรฤทธิ์
  2. นางผา ศรฤทธิ์
  3. นางจำปี ศรฤทธิ์
  4. นายสวย ศรฤทธิ์
  5. นางสำราญ วงษ์มาก
  6. นางสังเวียน สิงห์แก้ว
ปฐมวัยและการศึกษาเบื้องต้น
ชีวิตในปฐมวัยมีความเป็นอยู่เหมือนๆ กับเด็กในชนบททั่วไป คือได้ช่วยเหลือพ่อแม่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรอันถือได้ว่าเป็นเมืองอู่ข้าว อู่น้ำมาแต่บรรพชน ทั้งช่วยเหลือเลี้ยงดูเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย มาโดยตลอด ส่วนการศึกษาเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี ได้เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นในโรงเรียนวัดตะโก เพราะเด็กๆ ในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียนประถมศึกษาของทางราชการในละแวกตำบลดอนหญ้านาง ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นครูสอนบนศาลาการเปรียญของวัด จนมีความรู้อ่านออกเขียนได้ มีความรู้เทียบได้ชั้นประถมปีที่ ๔ ก็ออกจากโรงเรียน
สู่เพศพรหมจรรย์
เมื่ออายุ ๑๖ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตะโกโดยมีพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสเป็นพระอุปัชฌาย์ ในที่ครองเพศพรหมจรรย์ ท่านได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยในด้านพระคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี อายุครบบวช ราว พ.ศ.๒๔๘๔ ก็อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดตะโก โดยมีพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ (หลวงพ่อชื่น) เจ้าอาวาสวัดภาชี เจ้าคณะอำเภอภาชีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดจ้อย เจ้าอาวาสวัดวิมลสุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์บุญช่วย เจ้าอาวาสวัดตะโก(ในสมัยนั้น) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า “ปาสาทิโก”ครั้นอุปสมบทแล้ว อยู่จำพรรษาที่วัดตะโกเรื่อยมาได้ศึกษาด้านคันถธุระพระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบได้นักธรรมชั้นโท ใน พ.ศ.๒๔๘๕ และสอบได้นักธรรมชั้นเอกใน พ.ศ.๒๔๘๗
วิทยฐานะ และการปกครอง
  • พ.ศ. 2489 สอบได้นักธรรมเอก
  • พ.ศ. 2492 เจ้าอาวาสวัดตะโก
  • พ.ศ. 2496 เจ้าคณะตำบลดอนหญ้านาง
สืบทอดพุทธาคม
หลังจากจบนักธรรมเอกแล้ว ท่านคิดว่าเพียงพอสำหรับด้านคันถธุระแล้ว เพราะพระที่อยู่ตามชนบทบ้านนอกพอที่จะรักษาพระธรรมวินัยเพศพรหมจรรย์ให้ รุ่งเรืองและเป็นนำสอนชาวบ้านบ้านได้แล้ว ท่านก็หันมาสนใจทางด้านวิปัสสนาธุระโดยมองเห็นประโยชน์ในด้านการปฏิบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ออกเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาเรียนพระกรรมฐานกับครู บาอาจารย์เก่งๆ ในยุคนั้น อาทิเช่น
  1. หลวงพ่อชื่น วัดภาชี อยุธยา เชี่ยวชาญด้านวิปัสนากรรมฐานที่สืบทอดพุทธาคมมาจากหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ เป็นที่รู้จักกันดีในยุคนั้นซึ่งมีศิษย์ที่ศึกษาวิชาจากหลวงพ่อกลั่นมากมาย อาทิเช่น หลวงพ่อใหญ่ หลวงพ่ออั้น หลวงพ่อเภา หลวงพ่อศรี หลวงปู่ดู่ และหลวงพ่อชื่น ศิษย์หลวงพ่อกลั่นที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้มรณะภาพไปหมดแล้วซึ่งแต่ ละองค์ล้วนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างดี
  2. หลวงพ่อแจ่ม วัดแดงเหนือ เชี่ยวชาญเวทมนต์คาถาอาคม ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาให้หลวงพ่อท่านทุกอย่าง อาศัยความขยันหมั่นเพียรและความตั้งใจมุ่งมั่นจึงก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนวิชาที่เล่าเรียนปฏิบัติเข้มขลังในพลังแห่งวิทยาคมสูงส่ง
กิตติคุณหลวงพ่อ
เป็นพระเกจิที่เปี่ยมเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เชี่ยวชาญสรรพเวทวิยาคม วัตถุมงคลเข้มขลังเปี่ยมพลังพุทธคุณมากประสบการณ์ แคล้วคลาดนิรันตราย และเมตตา มหานิยม โชคลาภ เป็นหนึ่ง
คาถามหาลาภ
สัมพุทธชิตา จะ สัจจานิ เกรัตสะ พระพุทธชิตา สัพพโส คุณะวิภา สัมปัตโต นะรุตตะโม มหาลาภัง ภวันตุ เม.
งานส่งเสริมพระพุทธศาสนา
  • จัดให้มีการแสดงธรรมทุกวันพระ
  • จัดตู้หนังสือพระไตรปิฎก
  • จัดหาเครื่องเขียน ตำราเรียนแก่พระภิกษุสามเณร
  • เมื่อเอ่ยนามหลวงพ่อวัดตะโก  หรือ พระครูสุนทรธรรมนิวิฐ วัดตะโก ต.ดอนหญ้านาง อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่าไม่เคยรู้จัก หรือไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อนเลย เพราะนามนี้สถิตอยู่ในดวงใจของพุทธศาสนิกชนมาเป็นเวลาช้านาน เหตุเพราะท่านเป็นพระภิกษุที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใสศรัทธามาตลอด ทั้งยังมีเมตตาต่อสัตว์โลกทั้งหลาย ด้านเมตตา อันหาที่สุดมิได้นี้เองที่ทำให้ท่านเป็นเสมือนศูนย์รวมดวงใจของชาวไทยทั้งประเทศเลยทีเดียว
  • ท่านเป็นพระเกจิที่เปี่ยมเมตตาธรรมสูง มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เชี่ยวชาญสรรพเวทวิยาคม วัตถุมงคลเข้มขลังเปี่ยมพลังพุทธคุณมากประสบการณ์ แคล้วคลาดนิรันตราย และเมตตา มหานิยม โชคลาภ เป็นหนึ่ง หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก พระมงคลสิทธาจารย์ ได้มรณภาพลงอย่างสงบแล้ว ประมาณ 22 นาฬิกาของวันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2560 ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ขอให้คุณความดีน้อมนำหลวงปู่มุ่งสู่นิพพาน สิริอายุรวม 95 ปี 76 พรรษา

หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ท่านเกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2422 
โยมบิดาชื่อ แจ้ โยมมารดาชื่อ อินทร์ พอหลวงปู่ทิมท่านอายุได้ 17 ปี
โยมบิดาก็ได้นำตัวไปฝากกับท่านพ่อสิงห์ ที่วัดได้เล่าเรียนหนังสือกับพ่อท่านสิงห์เป็นเวลาหนึ่งปี ก็สามารถเรียนรู้เข้าใจอ่านออกเขียนได้
แล้วโยมบิดาจึงมาขอลาหลวงปู่ทิมให้กลับมาช่วยทำงานที่บ้าน 
พออายุครบบวชหลวงปู่ทิมท่านจึงได้อุปสมบท ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2449 ที่ วัดระหารไร่
โดยมีพระครูขาว วัดทิมมา เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอาจารย์สิงห์เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระอาจารย์เกตุเป็นพระกรรมวาจาจารย์
 เมื่อท่านบวชแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาอยู่ที่วัด 1 พรรษา จึงได้ขออนุญาตพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปหลายจังหวัดเป็นเวลา 3 ปี
พอใกล้เข้าพรรษาท่านก็ได้กลับมาที่วัด
 ตลอดเวลาที่หลวงปู่ทิมท่านธุดงค์ไปนั้น ท่านก็ได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆ ทั้งกับพระภิกษุและกับฆราวาส
อีกทั้งยังได้ศึกษาตำราของหลวงปู่เฒ่าสังข์ ซึ่งเป็นปู่แท้ๆ ของท่านซึ่งเป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองเวทวิทยาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อ หลวงปู่ทิม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดระหารไร่ ท่านก็ได้ซ่อมแซมกุฏิและอื่นๆ อีกหลายอย่าง
ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่านเมื่อท่านดำริว่าจะก่อสร้างพระอุโบสถก็สามารถสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยในระยะ เวลาเพียงหนึ่งปีเศษ

ต่อมาท่านก็ได้ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล โดยมีทางอำเภอและจังหวัดมาช่วย ใช้เวลาเพียง 8 เดือนก็แล้วเสร็จ
สามารถเปิดให้นักเรียนได้เข้าเรียนได้ และท่านก็ยังชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง
งานทุกอย่างก็สำเร็จเรียบร้อยทุกประการ เนื่องจากความเคารพเลื่อมใสของญาติโยมและชาวบ้านที่มีต่อหลวงปู่ทิม

หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ท่านเป็นพระสมภะ ไม่ยินดียินร้ายกับลาภยศสรรเสริญ
ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวนเมื่อปี พ.ศ. 2478
ท่านก็ไม่ได้บอกใครและไม่ได้ไปรับจนทางจังหวัดได้มอบตราตั้งให้ทางอำเภอนำมา มอบให้ท่านที่วัด
และเป็นพระครูทิม อิสริโก อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2497 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ท่านเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร
ท่านก็ไม่ยอมบอกใคร จนทางอำเภอได้ส่งหนังสือไปที่วัด
ชาวบ้านจึงได้รู้กันและได้จัดขบวนแห่มารับท่านไปรับสัญญาบัตรพัดยศ ที่เจ้าคณะจังหวัด
และได้เป็นพระครูภาวนาภิรัต เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507 ประวัติหลวงปู่ทิม วัดช้างให้ ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว

เมื่อหลวงปู่ทิม ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์ พระครูภาวนาภิรัต แล้วบรรดาศิษยานุศิษย์จึงได้ประชุมกัน ขออนุญาตหลวงปู่ทิม จัดงานฉลองสมณศักดิ์ให้กับท่าน เพื่อให้ญาติโยมได้มีโอกาสแสดงความยินดีและแสดงความกตัญญูกตเวทิตา ที่ หลวงปู่ทิมท่านได้มีเมตตาต่อเหล่าลูกศิษย์ หลวงปู่ทิมจึงขัดไม่ได้ นายสาย แก้วสว่าง ในฐานะไวยาวัจกรและศิษย์ใกล้ชิดจึงได้นัดประชุมกรรมการและชาวบ้าน ปรึกษากันว่าจะจัดฉลองสมณศักดิ์และเพื่อหารายได้สบทบทุนในการก่อสร้างกุฏิ และบูรณะซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดในครั้งนี้ โดยจะขออนุญาต หลวงปู่ทิมเพื่อจัดทำเหรียญรูปเหมือนของท่าน เอาไว้แจกแก่พวกญาติโยมและศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเป็นที่ระลึกในการร่วมกันทำบุญในงานวันฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เพราะใครๆ ก็ย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลวงปู่ทิมเป็นพระที่น่าเคารพบูชาอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมพระวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อยสมถะ ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ท่านฉันอาหารเพียงมื้อเดียวเท่านั้น และเป็นอาหารมังสวิรัติ
หลวงปู่ทิม ท่านไม่ฉันพวกเนื้อสัตว์ แม้ในยามปัจฉิมวัยที่ท่านอาพาธท่านก็ยังปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย เคร่งครัดรักษาศีล
ยึดมั่นพระธรรมวินัย เท่าที่สังเกตดูปรากฎว่า ท่านจะฉันเช้าประมาณ 7 โมงเช้า และฉันน้ำชาเวลา 4 โมงเย็น ถ้าเลยเวลาแล้วหลวงปู่จะไม่ยอมฉันเป็นเด็ดขาด แม้แต่น้ำชา ท่านฉันมื้อเดียวมาตลอด 50 ปีแล้ว โดยที่ไม่มีอาหารพวกเนื้อหมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิดเลย แม้แต่น้ำปลาก็ไม่เคยฉัน อาหารที่หลวงปู่ทิม ท่านฉันก็เป็นพวกผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่น เป็นประจำอยู่เป็นนิจตลอดมา เนื้อหนังมังสาและผิวพรรณของท่านก็คงเป็นปกติอยู่ตามเดิม พละกำลังของ หลวงปู่ทิมท่านก็แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะอำนาจบารมีของท่านที่เคยได้สร้างสมมาในชาติปางก่อน จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและบริสุทธิ์ในธรรมวินัย ดำรงชีวิตมาได้อย่างแข็งแรงและสมบูรณ์ หลวงปู่ทิม ท่านยังแข็งแรงสมบูรณ์ เดินไปไหนมาไหนได้สะดวก ท่านสายตาดีมากยังมองอะไรได้ชัดเจนดี ฟันก็ไม่เคยหักแม้แต่ซี่เดียว ถึงแม้ว่าอายุของท่านเกือบจะ 100 ปีแล้วก็ตาม จนท่านมรณภาพลงด้วยอาการสงบ ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2518 หน้าหอสวดมนต์ วัดระหารไร่ สิริอายุได้ 96 ปี พรรษาที่ 69